ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ วศิน สกุลเตียวเลยคับ

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ตลาดน้ำอัมพวา

สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายริมคลองแบบสมัยก่อนโดยมีแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางสายหลักในการเดินทางแล้วละก็ ตลาดน้ำอัมพวาที่จังหวัดสมุทรสงครามแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งแห่งที่ต้องมาสัมผัสกัน

ตลาดน้ำอัมพวาแห่งนี้เป็นตลาดยามเย็น จะเริ่มต้นกิจกรรมต่างๆกันตั้งแต่เวลา 15.00น. ไปจนถึง 21.00 น. โดยประมาณ ที่นี่จะมีร้านค้าขายสินค้ามากมายหลายประเภททั้งของกิน ของใช้ เรียงรายอยู่ 2 ฝั่งคลอง อีกทั้งยังมีพ่อค้าแม่ค้าที่พายเรือมาขายด้วย ของที่มาขายในเรือจะเน้นของกินเป็นหลักไม่ว่าจะเป็น ปลาหมึกย่างพร้อมกับน้ำจิ้มรสเด็ด กุ้งแม่น้ำตัวโต หอยเซลปิ้งสดสด หรือจะเป็นพวกผัดไทยอีก 1เมนูที่ไม่ควรพลาดก็มีให้เลือกชิมกันมากมายหลายร้าน และที่ขาดไม่ได้ก็จะเป็นพวกผลไม้สดใหม่จากสวน

พวกขนมโบราณแบบไทยแท้ก็มีชิมกันหลากหลายประเภท อาทิเช่นขนมลืมกลืน ขนมชื่อแปลกแต่รสชาติถูกปาก หรือว่าจะเป็นขนมหม้อแกงที่ใส่มาในหม้อดินเผาใบน้อย ก็น่าสนใจซื้อหากลับไปลิ้มลองความอร่อยเหมือนกัน ของขึ้นชื่ออีกอย่างของจังหวัดสมุทรสงครามที่หาซื้อได้จากที่นี่ก็คือ ปลาทูนึ่งตัวอวบอ้วนจากแม่กลอง โดยจะมีสโลแกนประจำตัวด้วยว่า “ปลาทูนึ่งแม่กลองต้องหน้างอ คอหัก” จะเพราะอะไรและทำไมต้องเรียกแบบนี้คงต้องตามไปดูกัน

นอกจากจะได้อิ่มหนำกับรสชาติอาหารแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่นที่น่าสนใจด้วย อย่างเช่น การนั่งเรือไปไหว้พระที่วัดริมแม่น้ำแม่กลอง พร้อมกับชมบรรยากาศสองฟากฝั่งคลอง และอีกหนึ่งอย่างเมื่อได้มาถึงอัมพวาก็คือ การนั่งเรือไปดูหิ่งห้อยที่บินออกมาส่องแสงเรืองรองในยามค่ำคืน จะมีค่าบริการอยู่ที่ประมาณ 60-80 บาทต่อคน หรือจะเช่าเหมาเรือเป็นหมู่คณะเลยก็ได้

สำหรับคอเพลงรุ่นเก่าจะพลาดไม่ได้เลยกับ “บ้านครูเอื้อ สุนทรสนาน” ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชม ซึ่งจะมีของใช้ส่วนตัวของครูเอื้อให้เราได้ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก อีกทั้งยังสามารถซื้อหาแผ่นเพลงของครูเอื้อได้อีกด้วย

ถ้าใครยังติดใจบรรยากาศคึกคักกับตลาดริมน้ำ หรืออยากจะสัมผัสความเงียบสงบในแบบบ้านพักริมน้ำที่นี่ก็ยังมีที่พักแบบโฮมสเตย์ไว้รองรับสำหรับผู้มาเยือน และถ้ามีโอกาสได้พักสักหนึ่งคืน รับรองว่าจะต้องติดใจในความมีชีวิตที่อัมพวาแห่งนี้อย่างแน่นอน

การเดินทางไปตลาดน้ำอัมพวา
รถตู้โดยสารประจำทาง สามารถขึ้นรถได้ที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิทางฝั่งถนนพหลโยธิน คิดค่าบริการประมาณ 100 บาทต่อคน

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

อาเซียน

  อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[3]
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

วศิน สกุลเตียว

                                                                               ประวัติส่วนตัว
                                                           ผมชื่อ  ด.ชวศิน สกุลเตียว  ชื่อเล่น หมู 
                                                          
                                                           เกิดวันที่13    วันพุทธ  เดือน  พ.ค 2541
                                                             
                                                           เวลาว่าง ดูทีวี  ชอบกินคะน้าหมูกรอบ
                                                            
                                                           ชอบวิชาพละศึกษา   อายุ14 ปี